ตัวอักษรวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ทางคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วัตถุประสงค์

1.อธิบายองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
2.อธิบายหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
3.เลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
4.อธิบายขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์ (computer) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซี (Integrated Circuit: IC)ซึ่งสามารถจดจำ ประมวลผลข้อมูล ตัดสินใจทางตรรกศาสตร์คำนวณทางคณิตศาสตร์ ใช้ช่วยในการออกแบบและสร้างงานกราฟิกได้ อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการด้านอื่นๆได้อีกด้วย
          องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับเข้า (input unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) หน่วยความจำ (memory unit) หน่วยส่งออก (output until) และหน่วยเก็บข้อมูล (storage until) แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกัน


หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

           เริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 ส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ระหว่างการประมวลผลหากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลไปจัดเก็บในหน่วยความจำ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปยังแรม ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกันอาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้เรายังสามารถบันทึกข้อมูลที่อยู่ในแรมลงในอุปกรณ์ของหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อนำกลับมาใช้อีกในอนาคต การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างภายในระบบคอมพิวเตอร์จะผ่านทางระบบบัส (bus)

ซีพียู และการประมวลผลข้อมูล

        ซีพียู (Central Processing Unit: CPU) มีลักษณะเป็นชิป (chip) ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งชิปดังกล่าวเป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย โดยวงจรจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก บางครั้งจึงเรียกชิปต่างๆว่า ไอซี




หน่วยควบคุม 

       หน่วยควบคุม (control until)เป็นหน่วยประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมอุปกรณ์ให้รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อส่งให้ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล โดยหน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์จะแปลความหมายของคำสั่งในโปรแกรมของผู้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่างๆทำงานตามคำสั่งต่างๆ


            หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือหน่วยแอลยู (Arithmetic-Logic Until: ALU)เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกะเพื่อทำการตัดสินใจ จะรับข้อมูลจากหน่วยความจำมาไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยูที่เรียกว่า เรจิสเตอร์ (register) เพื่อทำการคำนวณแล้วส่งผลลัพธ์กลับไปยังหน่วยความจำ

หน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล

           หน่วยความจำ (memory unit) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ด ทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง มี 2 ชนิด คือ

1.หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ (non volatile memory) เป็นความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง เช่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟลช
- รอม(Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
- หน่วยความจำแบบเฟลช (flash memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
2.หน่วยความจำแบบสามารถลบเลือนได้(volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป เช่น แรม
- แรม (Random Access Memory) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.)สแตติกแรม หรือเอสแรม (Static RAM: SRAM) พบในซีพียูที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม
2.)ไดมานิกแรม หรือดีแรม (Dynamic RAM: DRAM)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือซีพีมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุสูง


ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ

   
 ในภาษาคอมพิวเตอร์ คือ ใช้สำหรับการขนส่งที่ต้องการขนส่งจากจุดหนึ่ง สิ่งที่ขนส่ง คือ (สัญญาณไฟฟ้า) หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูล ดังนั้น bus ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็คือ เส้นโลหะ ตัวนำสัญญาณไฟฟ้ามักเป็น ทองแดง ที่อยู่บนแผ่นวงจรพิมพ์ต่างๆ เช่น Main board เป็นต้น แต่ bus มีการทำงานที่สลับซับซ้อนพอสมควรจึงมีเรียกว่า Bus System


Bus (ระบบบัส) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. Address Bus คือ Bus System ที่ใช้สำหรับแจ้งตำแหน่งหรือระบุตำแหน่งที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์
2. Control Bus คือ Bus System ที่ใช้สำหรับส่งการควบคุมไปยังส่วนต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
3. Data Bus คือ Bus System ที่ใช้สำหรับส่งการขนส่งข้อมูลไปยังตำแหน่งที่ระบุ Address Bus และถูก ควบคุมโดย Control Bus


การทำงานของ Bus

        
 เมื่อ Bus เป็นเส้นทางการขนส่งข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา ดังนั้นจะมีวงจรสำหรับควบคุมการทำงานของระบบ Bus (Bus Controller) ซึ่งในอดีตมี Chip IC ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงแพร่ออกไป ในปัจจุบันได้มีการรวมวงจรควบคุม Bus นี้เข้าไว้ใน North Bridge Chip โดยที่วงจรควบคุมระบบ Bus นี่ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณประเภทต่างๆให้ทำงานรวมกันอย่างเป็นระบบบนเมนบอร์ด ให้กับอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน เช่น CPU อุปกรณ์ I/O Port ต่างๆ
       

 อีกชื่อหนึ่งของ Bus มีเรียกขานกันในเรื่องเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) โดยมีความหมายว่า เป็นสถาปัตยกรรมการต่อเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งโดยมีแนวเส้นหลัก ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น “ถนนสายหลัก” ที่ใช้สำหรับเดินทาง or ขนส่งข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับระบบ Computer Network นี้ เป็นเสมือนหนึ่ง “บ้าน” ที่อยู่ในถนนย่อย ที่แยกออกมาจากถนนหลักโดยที่ ถนนย่อย ที่แยกออกมาแต่ละถนนนั้นจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ บ้าน เพียงครั้งเดียวอยู่ปลายถนนย่อยแต่ละเส้น โดยที่จุดแยกเข้าถนนย่อยนั้นจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ “แยกสัญญาณ”หรือ “พวงสัญญาณ” ที่เรียกว่า MAC (Media Access Commenter) เป็นตัวเชื่อมต่อและแผกสัญญาณไว้



การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน

          เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถระมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก มีให้เลือกหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ใช้กับงานทุกประเภท แต่ผู้ใช้ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อคุ้มค่ากับจำนวนเงิน ตัวอย่างการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละประเภท เช่น งานเอกสาร หรืองานในสำนัก เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการจัดงานด้านเอกสาร รายงาน ตกแต่งภาพใช้ ชอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ และซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1 GHz ขึ้นไป ใช้จอภาพแบบ แอลซีดีขนาดใหญ่ 17-19 นิ้ว เพื่อถนอมสายตา



งานกราฟิก

          งานกราฟิก เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียกใช้งานโปรแกรมกราฟิกหลายๆโปรแกรมในเวลาเดียวกัน โดยมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในประเภทนี้จำเป็นต้องมีความเร็วค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไปและมีฮาร์ดดิสก์มีความจุสูงเพื่อใช้เก็บข้อมูลจำนวนมาก

         งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบภาพ 3 มิติ การสร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูนแอนิเมชัน ตัดต่อวีดิทัศน์ เล่นเกมส์ที่มีกราฟิกสูง งานประเภทนี้มีความสามารถในการคำนวณ แสดงความละเอียดสูงสุด ควรเลือกซีพียูมีความเร็วสูงไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB ควรใช้จอภาพไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟ เนื่องจากการทำงานประเภทนี้คอมพิวเตอร์จะต้องใช้เวลาประมวลผลนาน
   
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติหรือ เรขภาพคอมพิวเตอร์สามมิติ คืองานกราฟิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์เพื่องานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติ หรือหมายรวมถึงวิทยาการที่เกี่ยวข้อง เช่นคณิตศาสตร์และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
     
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแตกต่างจากสองมิติตรงที่ภาพจากคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติจะมีค่าความลึกที่สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงใช้ซ้ำ เช่นการเปลี่ยนมุมมอง การหาระยะใกล้ไกลจากในภาพ เป็นต้น ในแง่คณิตศาสตร์การคำนวณภาพแบบสามมิติจะคล้ายคลึงกับภาพสองมิติแบบเวกเตอร์ โดยจะใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ชนิดเดียวกันเพียงแต่เพิ่มตัวแปรเพื่อนิยามความลึกหรือแกน Z ลงไปนอกเหนือจากแกน X และ Y ตามปรกติ ทั้งนี้ งานสามมิติมักผสมผสานงานแบบสองมิติทั้งแบบเวกเตอร์และภาพแรสเตอร์เข้าด้วยกัน เช่นการขึ้นโครงสร้างในแบบสามมิติ แล้วใช้การกำหนดลวดลายหรือปรับรายละเอียดพื้นผิวด้วยภาพสองมิติ

ฮาร์ดดิสก์



           ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk drive) หรือ (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึง อินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง 
         

 ฮาร์ดดิสก์ (hard disk)เป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันในพีซีทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วนั้นนิยมใช้กับโน้ตบุ๊ก การพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อ ความจุของข้อมูล และความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์มีราคาที่แตกต่างกัน 

หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์

        ภายในฮาร์ดดิสก์ หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
         สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
         เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 500 จิกะไบต์ ถึง 40 เทระไบต์ ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ เก็บอยู่ในรูปของไฟล์ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ (แอสกี ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ วิดีโอ และเสียง) โดยที่ไบต์จำนวนมากมายรวมกันเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้ และนำข้อมูลออกมาผ่านไปยังตัวประมวลผลเพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ทางคือ อัตราการส่งผ่านข้อมูล (Data rate) คือ จำนวนไบต์ต่อวินาที ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 400 เมกะไบต์ต่อวินาที และ เวลาค้นหา (Seek time) คือ หน่วงเวลาที่หัวอ่านต้องใช้ในการเข้าไปอ่านข้อมูลตำแหน่งต่างๆ ในจานแม่เหล็ก โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที ซึ่งมักขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์

ขนาด 8 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร × 117.5 มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร)
ขนาด 5.25 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร × 41.4 มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร)
ขนาด 3.5 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร × 25.4 มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
ขนาด 2.5 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.5–15 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา แล็ปท็อป, UMPC, เน็ตบุ๊ก, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์
ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร)
ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.4 มิลลิเมตร)

         ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS หน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครือข่ายส่วนตัว และระบบ SAN (Storage area network) เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์

1.การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่บนพีซีในปัจจุบัน ใช้มาตรฐาน EIDE และ SATA ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบใด

2.ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น กิกะไบต์ (GB) หรือ เทระไบต์ (TB) ซึ่งขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน

3.ความเร็วรอบ เป็นอัตราเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน-เขียน เข้าถึงข้อมูลฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของพีซีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7200 รอบต่อนาที (rpm)

การ์ดแสดงผล

          การ์ดแสดงผล (display card, graphics card หรือ video card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัล มาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพ การ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ดหรืออาจติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว
1.การ์ดจอแบบ ISA และ VL เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า 386 และ 486 รุ่นแรกๆ การ์ดรุ่นนี้ สามารถ แสดงสีได้เพียง 256 สีเท่านั้น การดูภาพ จึงอาจจะไม่สมจริงเท่าไรนัก เพราะขาดสีบางสีไป

2. การ์ดจอแบบ PCI เป็นการ์ดจอที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ 486 รุ่นปลายๆ เช่น 486DX4-100 และเครื่องระดับ เพนเทียมหรือคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วตั้งแต่ 100 MHz ถึง ประมาณ 300 MHz จะมีความเร็ว ในการแสดงผลสูงกว่าการ์ดจอแบบ ISA

3. การ์ดจอแบบ AGP เป็นการ์ดจอที่แสดงผลได้เร็วที่สุด เริ่มใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น AMD K6-II/III, K7, Duron, Thunderbird, Athlon XP, Cyrix MII, MIII, VIA Cyrix III, Pentium II, III, IV และ Celeron เป็นการ์ดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การ์ดจอบางรุ่นจะมีช่อง TV Out สามารถต่อสายไปยังทีวีได้ 

4. การ์ดจอแบบ 3 มิติ การ์ดจอสำหรับงานกราฟิค เล่นเกมสามมิติ ตัดต่อวีดีโอ ราคาแพงกว่าการ์ด จอสามประเภทแรก และผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคอเกมเมอร์ทั้งหลาย เพราะคนใช้งาน ทั่วๆ ไป อย่างเราๆ การ์ดธรรมดา ก็พอแล้ว มันแพงครับ บางตัว 20,000 กว่าบาท เกือบซื้อเครื่องดีๆ ได้อีกตัว การ์ดจอต่างๆ เหล่านี้จะมี ตัวประมวลผล (GPU) ช่วยประมวลผลหรือคำนวณเกี่ยวกับการสร้างภาพให้ปรากฏบนจอ ซึ่งจะทำให้ การแสดงภาพทำได้ดีมากกว่าการ์ดจอทั่วๆไป จึงต้องมีพัดลมช่วยระบายความร้อน ด้วยการ์ดจอแบบนี้ อาจมีอินเตอร์เฟสหรือลักษณะการเชื่อมต่อแบบ PCI หรือ AGP แต่ส่วนใหญ่ในตอนนี้จะเป็นแบบ AGP มากกว่า

ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล

1.ชิปประมวลผลกราฟิก หรือ จีพียู (graphic processing unit: GPU) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดนลดภาวะซีพียูในการคำนวณข้อมูลที่จะส่งไปที่จอภาพ ตัวอย่างการเลือกซื้อซีพียู เช่น ถ้าต้องการประมวลผลภาพสามมิติ อาจใช้ชิปของบริษัท nVIDIAรุ่น GeForce 9 และ GTX2xx หรือชิปของบริษัท ATi รุ่น Radeon HD 4000

2.การเชื่อมต่อ มี 2 แบบ คือ แบบใช้กับบัส PCI Express และบัส AGP โดย PCI Express จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งสามารถให้ความเร็วสูงสุดได้ถึง 16 GB/s ส่วน AGP มีประสิทธิภาพรองลงมา

3.ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด หน่วยความจำบนการ์ด (Video RAM) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลภาพที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าความจุของหน่วยความจำมาก จะทำให้แสดงภาพมัลติมิเดียความละเอียดสูงได้ดี การบอกความจุของหน่วยความจำบนตัวการ์ด เช่น DDR3 512 MB


ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ

        ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ (optical disk drive) ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ซีดีไดร์ฟ และ ดีวีดีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ซีพีทุกเครื่องควรมี เนื่องจาก ซีดี/ดีวีดีไดร์ฟมีราคาถูกลงมาก นอกจากนี้สื่อที่ใช้เก็บบันทึก เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี มีความจุสูงและมีราคาถูก

การพิจารณาเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ

      จะพิจารณาจากความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูล ซึ่งแต่ละชนิดจะระบุความเร็วไว้แตกต่างกันตามชนิดของออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ดังนี้

1.ซีดีไดร์ฟ (Compact Disc Drive: CD Drive)ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว

2.ดีวีดีไดร์ฟ (Digital Versatile Disc Drive: DVD Drive) ใช้อ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้

3.ซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Compact Disc ReWritableDirve: CD-RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้ มีการระบุค่าความเร็ว

4.คอมโบไดร์ฟ (Combo Drive)สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดี และอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว

5.ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Digital Versatile Disc ReWritable Drive: DVD+RW Drive)สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี

เคส (case)



         มีลักษณะ เป็นกล่องโลหะสี่เหลี่ยมทำหน้าที่หุ้มห่อชิ้นส่วนต่างๆ ของ คอมพิวเตอร์ เคสมีหลายแบบ เช่น แบบนอนหรือ Desktop เคสแบบตั้งหรือ Tower ซึ่งเคสแบบนี้ยังแยกย่อยไปอีก เช่น แบบ Mini Tower (แบบมินิ) Medium Tower (แบบมิเดี้ยม) หากจะเลือกซื้อแนะนำให้เลือกแบบ Tower ขนาด อย่างน้อย ต้อง Medium ซึ่งเป็นเคสขนาดกลางๆ รองรับการต่อเติมอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถูกติดตั้งใกล้ชิดกันมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อน เพราะการระบายอากาศไม่ดี
        เคสแต่ละแบบจะมีพาวเวอร์ซัพพลายในตัวซึ่งมีกำลังไฟแตกต่างกัน เช่น 200 W, 230 W หรือ 250 W หากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้มีอุปกรณ์ไม่มาก เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ อย่างละตัว การ์ดจอ การ์ดเสียง ก็เลือกพาวเวอร์ซัพพลาย 230 W เป็นอย่างน้อย กำลังไฟฟ้าไม่พอ จะมีผลทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย ได้เหมือนกัน แต่การเลือกใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่มีวัตต์สูงๆ ก็กินไฟมากกว่า จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนเลือกซื้อ เคสบางแบบก็ถูกออกแบบมาเพื่อซีพียูบางรุ่นโดยเฉพาะ เช่นซีพียูเพนเทียมโฟร์ ไม่เช่นนั้น จะจ่ายไฟไม่พอ อาจทำให้ซีพียูเสียหายได้


ในปัจจุบันได้มีการออกแบบเคสแบบใหม่เรียกว่า ATX เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างของเคส และเมนบอร์ดแบบเก่าหรือแบบ AT ปัจจุบันก็มีผู้นิยมใช้เคสแบบนี้กัน มาก เริ่มมีการนำมาใช้กับ คอมพิวเตอร์เพนเทียมรุ่นหลังๆ ประมาณเพนเทียม 166 ขึ้นไป จนมาถึงปัจจุบัน ในขณะที่แบบ AT มีใช้กันมาตั้งนานนม ปัจจุบันก็ยังใช้ กันอยู่ ราคาถูกกว่าเคสแบบ ATX โดยสรุปก็คือ เราอาจแบ่ง ประเภทของเคสได้เป็น 2 แบบ ATX และ AT ข้อแตกต่างของเคสที่สังเกตง่ายก็คือ ด้านหลังเคส และสาย ต่อไฟเข้า เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน เคสแบบ ATX ที่ด้านหลังพอร์ตต่างๆ เช่น พอร์ตเครื่องพิมพ์ เมาส์ Com1 หรือ Com2 จะอยู่ตำแหน่งติดๆ กัน พอร์ตต่างๆ จะอยู่ ในแนวตั้งและมีตำแหน่งเฉพาะ ไม่สามารถถอดเปลี่ยนตำแหน่งได้ แต่เคสแบบ AT ตำแหน่งของพอร์ดเหล่านี้จะอยู่ในแนวนอนและ ขึ้นอยู่กับผู้ติดตั้งว่าจะติดตั้ง ตำแหน่งใด

ส่วนประกอบของเคส

สำหรับเคสโดยปกติที่ซื้อมาใหม่หรือไม่ถูกถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนใดๆ ก็จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้ 
1. พาวเวอร์ซัพพลายหรือตัวจ่ายไฟ จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับเคส
2. สายสัญญาณ Reset, Hdd Led, Power Switch, Power Led และ Speaker 
3. น็อตและหมุดพลาสติกสำหรับยึดเมนบอร์ดเข้ากับเคส
4. สายไฟพาวเวอร์ สำหรับต่อไฟเข้าเมนบอร์ดต่อไฟฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ เป็นต้น

จอภาพ (monitor)

        ที่พบจะมีอยู่สองประเภท คือ จอซีอาร์ที และจอแอลอีดี ซึ่งปัจจุบันจอแอลอีดีเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
1.ความละเอียดของภาพหมายถึง จำนวนจุดหรือพิกเซลบนจอภาพ ถ้าหากมีความละเอียด สูงจะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น
2.ขนาดขนาดของจอจะวัดเป็นแนวทแยงมุม



การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

         อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลารับประกันต่างกัน อายุของการรับประกันที่นานขึ้น อาจมีผลทำให้ราคาสูงขึ้นบนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนอุปกรณ์ ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดลงทันที

ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

1.ไม่ควรเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีโลหะที่นำไฟฟ้าเข้าไปในเครื่อง ทำให้เกิดการลัดวงจร
2.ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง
3.ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง
4.ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็กหรือลำโพงตัวใหญ่ๆ
5.ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส
6.ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง
7.ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
8.ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดสวิตซ์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ

การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของพีซี

1.เครื่องหยุดการทำงานขณะใช้งานอยู่
- สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟจ่ายกำลังไฟฟ้าไม่เพียงพอ 
- การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป หรือ เปลี่ยนแหล่ง จ่ายไฟที่มี กำลังไฟฟ้ามากขึ้น

2.เปิดเครื่องแล้วปรากฏข้อความว่า DISK BOOT FAILURE,INSERT DISK SYSTEM PRESS ENTER
- สาเหตุ เครื่องบูธไม่พบฮาร์ดดิสก์ หรือระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์เสียหาย
- การแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูธฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ หรือติดตั้ง ระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์

3.อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี ไม่ได้
- สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
- การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใส่แผ่นซีดีสำหรับทำความสะอาดเข้าไป ในไดร์ฟ แปรงขนาดเล็กที่อยู่ใต้แผ่นซีดีจะปัดทำความสะอาดหัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟ

4.เครื่องรีสตาร์ทเองขณะใช้งาน
- สาเหตุ ซีพียูมีความร้อนสูง
- การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่นหรือไม่